วิทยุเสียงอ่านพระไตรปิฎกครบถ้วน45เล่มเหมาะกับพุทธศาสนิกชนทั่วไปหรือถวายแต่พระภิกษุสามเณรที่ต้องการศึกษาพระไตรปิฎก
เป็นเสียงอ่านพระไตรปิฎกได้ย่อความจาก พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี 45เล่ม 8400 ธรรมขันธ์
เสียงอ่านโดยพระครูปลัดปราโมท สีริเตโชและคุณเพ็ญศรี อินทรทัต
ไม่ต้องเสียงเวลาอ่าน เปิดฟังไปได้เรื่อย จนครบ พระไตรปิฎกกล่าวกันว่าพุทธศนานิกชนควรได้อ่านสักครั้งหนึ่งในชีวิตซึ่งเป็นการยากลำบาก เรานำมาเป็นเสียงอ่าน เพื่อคนไทยทุกคน โดยได้มีการเรียบเรียงเนื้อหา และสะดวกแก่กาฟัง โดยผู้จัดทำพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน มีความปราถนาที่จะได้เห็น พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ฟังพระไตรปิฎกจนจบ และได้รับประโยชน์จากการอ่าน 4ประการด้วยกัน คือ
- รู้ความหมาย และความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก
- รู้เรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งได้เลือกนำมาแปลไว้เป็นตอนๆ เพื่อให้เห็นแนวคำสอนทางพระพุทธศาสนาทั้งสามปิฎก
- รู้ความย่อในพระไตรปิฎก แต่ละเล่ม รวมทั้งหมด 45เล่มมาในรูปแบบเสียงอ่าน
- ได้ฟังเพื่อทราบความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกในประเทศไทย
โดยเนื้อหาที่เป็น นิทาน เรื่องเล่า ภายในหนังสือพระไตรปิฎก
1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลของภิกษุและ ภิกษุณี
2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรม เทศนาทั่วๆ ไป
3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะที่ เป็นสาระสำคัญ
1. พระวินัยปิฎก
แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ:
1. ส่วนที่ว่าด้วยศีลของภิกษุ
2. ส่วนที่ว่าด้วยศีลของภิกษุณี
3. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องสำคัญ
4. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องที่สำคัญรองลงมา
5. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด
ชื่อในภาษาบาลีของ 5 ส่วนนั้น คือ
1. ภิกขุวิภังค์ หรือมหาวิภังค์
2. ภิกขุนีวิภังค์
3. มหาวรรค
4. จุลวรรค และ
5. บริวาร
วินัยปิฎกมี 8 เล่ม คือ ส่วนที่ 1 ได้แก่เล่ม 1-2 ส่วนที่ 2 ได้แก่เล่ม 3 ส่วนที่ 3 ได้แก่เล่ม 4 - 5 ส่วนที่ 4 ได้แก่เล่ม 6-7 และส่วนที่ 5 ได้แก่เล่ม 8
2. พระสุตตันตปิฎก
แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
1. ส่วนที่ว่าด้วยพระสูตรขนาดยาว เรียกว่า ทีฆทิกาย มี 34 สูตร ได้แก่เล่ม 9 - 10 -11
2. ส่วนที่ว่าด้วยพระสูตรขนาดกลาง เรียกว่า มัชฌิมนิกาย มี 152 สูตร ได้แก่เล่ม 12 - 13 - 14
3. ส่วนที่ว่าด้วยพระสูตรซึ่งประมวล หรือรวมคำสอนประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า สังยุตตนิกาย มี 7762 สูตร ได้แก่เล่ม 15 - 19
4. ส่วนที่ว่าด้วยธรรมะเป็นข้อๆ ตั้งแต่ 1 ข้อถึง 11 ข้อ และมากกว่านั้น เรียกว่า อังคุตตรนิกาย มี 9557 สูตร ได้แก่เล่ม 20-24
5. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หรือเล็กๆ น้อยๆ 15 หัวข้อ เรียกว่า ขุททกนิกาย จำนวนสูตรมีมาก จนไม่มีการนับจำนวนไว้ ได้แก่เล่ม 25-33 รวมเป็นพระสุตตันตปิฎก 25 เล่ม
3. พระอภิธรรมปิฎก
แบ่งออกเป็น 7 ส่วน คือ
1. ส่วนที่ว่าด้วยการรวมกลุ่มธรรมะ เรียกว่า ธัมมสังคณี ได้แก่เล่ม 34
2. ส่วนที่ว่าด้วยการแยกกลุ่มธรรมะ เรียกว่า วิภังค์ ได้แก่เล่ม 35
3. ส่วนที่ว่าด้วยธาตุ เรียกว่า ธาตุกถา ได้แก่ส่วนแรกของเล่ม 36
4. ส่วนที่ว่าด้วยบัญญัติคือ การนัดหมายรู้ทั่วไป เช่น การบัญญัติบุคคล เรียกว่า บุคคลบัญญัติ ได้แก่ส่วนหลังของเล่ม 36
5. ส่วนที่ว่าด้วยคำถามคำตอบทางพระพุทธศาสนา เพื่อชี้ให้เป็นความเข้าใจผิดพลาดต่างๆ เรียกว่า กถาวัตถุ ได้แก่เล่ม 37
6. ส่วนที่ว่าด้วยธรรมะเข้าคู่กันเป็นคู่ๆ เรียกว่า ยมก ได้แก่ เล่ม 38-39
7. ส่วนที่ว่าด้วยปัจจัย คือ สิ่งเกื้อกูลให้เกิดผลต่างๆ รวม 24 ปัจจัย เรียกว่า ปัฏฐาน ได้แก่เล่ม 40 ถึงเล่ม 45 รวม 6 เล่ม และรวมพระอภิธรรมปิฎกแล้วเป็นหนังสือ 12 เล่ม
กล่าวโดยจำนวนเล่ม เล่ม 1-8 เป็น พระวินัยปิฎก เล่ม 9 - 33 รวม 25 เล่มเป็น พระสุตตันตปิฎก เล่ม 34 - 45 รวม 12 เล่มเป็นพระอภิธรรมปิฎก รวมเป็นพระไตรปิฎก 45 เล่ม ซึ่งประเทศไทยจัดพิมพ์ขึ้น